14 กรกฎาคม 2552

ตัวอย่างโครงการ

........โครงการจัดการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษา
เตรียมความพร้อมการศึกษาทางไกล e-Training
จัดโดยโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (TCU)

1.หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยมีพันธกิจที่สำคัญที่จะขยายโอกาสทางการศึกษา ด้วยการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ยกระดับการพัฒนาความเชี่ยวชาญของบุคลากรภาครัฐและเอกชน รวมถึงผู้สำเร็จการศึกษา โดยเฉพาะในภาวะที่ประเทศประสบปัญหาเศรษฐกิจถดถอย และการลดการจ้างงานในตลาดแรงงาน อีกทั้งประเทศไทยน่าจะมียุทธศาสตร์ในการผลักดันการปฏิรูปเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการกำหนดมาตรฐานการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยเป็นหน่วยงานกลางที่จะทำหน้าที่เป็นหน่วยส่งเสริมการเรียนรู้การสร้างสื่อการสอน และการศึกษาต่างๆ เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเข้าฝึกอบรม และมาค้นหาข้อมูลการศึกษา และองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาสถานศึกษาของประเทศไทยได้
นอกจากนั้น การปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ ซึ่งเป็นนโยบายรัฐบาลด้านการศึกษาที่มุ่งเน้นการระดมทรัพยากร เพื่อการปรับปรุงการการบริหารจัดการศึกษา ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนกึงระดับอุดมศึกษา พัฒนาครูพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ตลอดจนปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน และจัดให้มีศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตที่เหมาะสมสแต่ละพื้นที่ โดยการจัดทำโครงการอบรมนี้ เพื่อยกระดับขีดความสามารถของครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ให้ได้ครูดี ครูเก่ง มีคุณธรรม มีคุณภาพในสถานศึกษาเพื่อนำไปสู่เป้าหมายคุณภาพการศึกษา ตามนโยบายรัฐบาลด้านการศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศ
2.วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อจัดให้เกิดการปฏิรูปเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้สามารถนำระบบการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
2.2 เพื่อส่งเสริมการจัดทำสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้กับหน่วยงานการศึกษาให้พึ่งพาด้วยตนเองได้
2.3 เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ของการนำไปใช้งาน หรือประยุกต์เข้ากับระบบการเรียนปกติได้
2.4 เพื่อพัฒนาบุคลากรขององค์การศึกษาให้มีความรู้การจัดการระบบ e-Training ของหน่วยงาน
2.5 เพื่อร่วมพัฒนาชุมชนองค์แห่งการเรียนรู้ ในการใช้ข้อมูล ข่าวสาร การศึกษาให้ทันสมัย และเหมาะสมสมกับการศึกษาของชาติ
3.ประโยชน์ที่คาดว่าได้รับ
3.1 ได้เครือข่ายที่สามารถนำระบบบริหารการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไปใช้งานได้
3.2 ได้สื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานสถานการศึกษาเพื่อให้ผู้อบรมสามารถจัดการเรียนการสอนของแต่ละหน่วยงานผ่านระบบสารสนเทศได้
3.4 ได้ร่วมพัฒนาบุคลากรของรัฐให้สามารถสร้างสื่อการศึกษาให้ทันสมัย และเหมาะสมกับการศึกษา
3.5 ได้สื่อบทเรียนนวัตกรรมที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงที่มีมาตรฐานเพื่อใช้ประกอบการประเมินวิทยฐานะของครูในระดับโรงเรียนได้
4.กลุ่มผู้เรียนที่เหมาะสม
4.1 ประชาชนทั่วไปที่มีความรู้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
4.2 ครู อาจารย์และผู้สนใจในการทำสื่อนวัตกรรมการจัดการเรยนการสอน
4.3 นิสิตนักศึกษาหรือบัณฑิตตกงาน
5.ขอบเขตการดำเนินโครงการ
กำหนดให้มีหลักสูตรการจัดฝึกอบรมการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ เพื่อเตรียมความพร้อมระบบอีเลิร์นนิ่ง แบ่งออกเป็น 2 หลักสูตร จำนวนชั่วโมงรวม 90 ชั่วโมง
5.1 หลักสูตรผู้เชี่ยวชาญด้านออกแบบเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (Practical ID) บทเรียนออนไลน์จำนวน 24 ชั่วโมง
.....5.1.1 วิชาการเตรียมความพร้อมด้านการผลิตสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (6 ชั่วโมง)
.....5.1.2 วิชาความรู้เบื้องต้นคอมพิวเอตร์กราฟิก (Computer Graphics) (6 ชั่วโมง)
.....5.1.3 วิชาการออกแบบโครงสร้างสื่อการเรียนด้วย MindMapper (6 ชั่วโมง)
.....5.1.4 วิชาเทคนิดการออกแบบภาพประกอบบทเรียนด้วยโปรแกรม PhotoShop (6 ชั่วโมง)
ปฏิบัติและทดสอบ (Workshop) กิจกรรมจำนวน 12 ชั่วโมง
.....5.1.6 กิจกรรมการฝึกการปฏิบัติการออกแบบโครงสร้างเนื้อหาบทเรียน (6 ชั่วโมง)
.....5.1.7 กิจกรรมการถ่ายภาพและออกแบบภาพประกอบบทเรียน (6 ชั่วโมง)
5.2 หลักสูตรผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (Practical Courseware) บทเรียน
ออนไลน์จำนวน 36 ชั่วโมง
.....5.2.1 วิชาการสร้างสื่อการสอนแบบ Streaming Media ด้วย MS-Producer (12 ชั่วโมง)
.....5.2.2 วิชาการสร้างสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบ Interactive Learning โดยโปรแกรม Captivate 3.0 (12 ชั่วโมง)
.....5.2.3 วิชาเทคนิคการผลิตบทเรียนแบบ Flash Animation (12 ชั่วโมง)
ปฏิบัติและทดสอบ (WorkShop) กิจกรรมจำนวน 18 ชั่วโมง
.....5.2.5 กิจกรรมการฝึกการปฏิบัติการผลิตบทเรียนแบบ Streaming Media (6 ชั่วโมง)
.....5.2.6 กิจกรรมการผลิตบทเรียนแบบ Interactive Learning (6 ชั่วโมง)
.....5.2.7 กิจกรรมการผลิตบทเรียนแบบ Flash Animation (6 ชั่วโมง)
6.แผนการดำเนินงาน / วิธีดำเนินการ
........ดำเนินงานจัดการโครงการจัดการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาเตรียมความพร้อมการศึกษาทางไกล e-Learning (Software Production) กำหนดการทำงานและหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
6.1 กำหนดแผนดำเนินงานโครงการฝึกอบรมออนไลน์และการปฏิบัติ
6.2 กำหนดเป้าหมาย และประชาสัมพันธ์โครงการ และเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของ TCU
6.3 กำหนดระบบลงทะเบียนเข้ารับการจัดฝึกอบรมออนไลน์ผ่านเว็บและการปฏิบัติในห้อง Lap
6.4 กำหนดผู้รับผิดชอบหลักสูตร ให้มีเตรียมแผนการสอนออนไลน์และตอบคำถาม
6.5 การเตรียมงานวัสดุอุปกรณ์ในการจัดฝึกอบรมออนไลน์และการปฏิบัติ
6.6 กำหนดรุ่นการอบรมในแต่ละรุ่นไม่เกิน 100 คนต่อรุ่นต่อครั้งที่ทำการอบรมออนไลน์และกิจกรรม
6.7 เปิดการเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบ e-Training ในเว็บ
www.training.thaicyberu.go.th และwww.e-learning.in.th ได้
6.8 จัดทำสถิติในการให้บริการ และทำการประเมินผลทุกการอบรม
7.แนวทางการติดตามประเมินผล
7.1 ระหว่างการดำเนินงาน จะมีการประชุมทุกสัปดาห์ เพื่อสรุปผลการดำเนินงานและรับฟังข้อเสนอ เพื่อนำไปปรับปรุง
7.2 เมื่อลงทะเบียนเข้ารับการจัดฝึกอบรมออนไลน์ผ่านเว็บจะมีการทำสถิติการลงทะเบียนผลแล้วมีการพิจารณากำหนดกลุ่มผู้อบรมตามสัดส่วนของผู้เข้ารับการอบรม
7.3 มีการจัดทำบันทึกข้อเสนอแนะจากผู้อบรม เพื่อนำมาปรับปรุงการอบรมครั้งต่อไป
7.4 ผู้เรียนจะต้องแสดงออกถึงความรู้ ทักษะต่างๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ของรายวิชา เข้าเรียนบทเรียน การทำกิจกรรมการเรียน การส่งงานที่ได้รับมอบหมาย มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้สอน และการนำเสนอชิ้นงาน รวมถึงการเข้าสอบ โดยทุกขั้นตอนและกิจกรรมจะมีการประเมินและให้คะแนน โดยจะถือเกณฑ์ผ่านที่ร้อยละ 60%
8.สถานที่จัดการฝึกอบรม
8.1 การเรียนออนไลน์จะเป็นห้องเรียนปลายทางของสถานศึกษาของหน่วยงานภาครัฐบาล และเอกชนที่สนใจตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยขึ้นอยู่กับขีดความสามารถของผู้เรียน
8.2 การฝึกปฏิบัติจะเป็นห้องจัดฝึกอบรมของสถานศึกษาจำนวน 100 เครื่อ
ขึ้นไป ต่อการอบรมต่อครั้งต่อวันตามรุ่นของโครงการอบรม
9.แนวทางการเรียนและการติดตามดูแล
9.1 รูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้ระบบ e-Training คือผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นหลัก
.....- หลักสูตรผู้เชี้ยวชาญด้านออกแบบเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (Practical ID) ใช้เวลาเรียนตลอดหลักสูตร 36 ชั่วโมง ผู้เรียนสามารถเข้าเรียนและอบรมตามวันและเวลาที่กำหนดได้ตามอัธยาสัยโดยเริ่มเรียนตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2552 ถึง 30 ธันวาคม 2552
.....- หลักสูตรผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (Practical Courseware) ใช้เวลาเรียนตลอดหลักสูตร 54 ชั่วโมง ผู้เรียนสามารถเข้าเรียนและอบรมตามวันและเวลาที่กำหนดได้ตามอัธยาสัยโดยเริ่มเรียนตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2552 ถึง 30 ธันวาคม 2552
.....- ผู้เข้าเรียนจะต้องเรียนตามหลักสูตรที่กำหนด และทำกิจกรรมตามภาระงานที่ได้รับมอบหมาย ดังนั้นผู้เรียนจะต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าสปดาห์ละ 6-8 ชั่วโมง เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
.....- ผู้เข้าเรียนจะเรียนบทเรียนมัลติมีเดียผ่านเว็บด้วยตนเอง (Interactive Learning) 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
.....- อ่านเอกสารที่ผู้สอนกำหนด (จากสื่อสิ่งพิมพ์หรือเว็บไซต์) 1-2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
.....- ผู้เข้าเรียนทำกิจกรรมการเรียน (Learning Activities) สอบถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาจารย์ (Tutor session) เพื่อนร่วมชั้นเรียน (Collaborative Activities) 1-2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
.....- ค้นคว้า / ทำชิ้นงาน (Research Assignment ) ตามกำหนด 2-4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
.....- การอบรมเชิงปฏิบัติการ 30 ชั่วโมง จำนวน 2 หลักสูตรสำหรับผู้เรียนที่มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ด้วยตนเองตามที่อาจารย์ผู้ดูแลกำหนด ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2552 ถึง 30 ธันวาคม 2552
9.2 การดูแลและสนับสนุนการเรียน
ด้านวิชาการ (การเรียนการสอน การตอบคำถามวิชาการ การตรวจและให้ข้อมูลป้อนกลับ) หลักสูตรผู้เชี่ยวชาญด้านออกแบบเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (Instruction Design) และหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (Courseware Engineer) โดยทีมคณาจารย์ และมีผู้สนับสนุนการเรียน (Facilitator) ในการจัดฝึกอบรมดังกล่าว
เกณฑ์คุณภาพ (Quality)
.....- ตอบคำถาม หรือให้ข้อมูลภายใน 24 ชั่วโมง
.....- ทางโทรศัพท์ (02-6105232-39) วันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 9.00-18.00 น.
.....- ผ่านกระดานถาม-ตอบ ภายใน 24 ชั่วโมง
.....- การสนทนาออนไลน์ ( Chat) วันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 16.30-18.00 น.
ด้านเทคนิค (Administrator) มีทีมดูแลและสนับสนุนด้านเทคนิค ประกอบด้วย ทีมสนับสนุนผู้ใช้ระบบ e-Training และเจ้าหน้าที่เทคนิคอยู่ปฏิบัติการตลอด 7 วัน สามารถดูแล แก้ไขปัญหาระบบหากเกิดปัญหาโดยจะแก้ไขระบบและให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาเทคนิคแก่ผู้เรียนได้
เกณฑ์คุณภาพ (Quality)
.....- ตอบคำถามให้ข้อมูลทางโทรศัพท์ (02-6105232-39) วันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 9.00-18.00 น.
.....- ตอบคำถามในกระดานถาม-ตอบ ภายใน 24 ชั่วโมง
.....- แก้ไขปัญหาเทคนิคเครื่องแม่ข่าย และเครือข่าย ในส่วนกลางของโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ภายใน 24 ชั่วโมง
9.3 คุณสมบัติของผู้เรียน
.....- ประชาชนทั่วไป ครู อาจารย์ นิสิตนักศึกษาหรือบัณฑิตตกงาน
.....- สามารถใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้อย่างไม่มีปัญหา
.....- มีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงใช้งานได้สะดวก (ความเร้วไม่น้อยกว่า 128 kbps)
.....- ผู้เรียนจะต้องมีเวลาไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 6 ชม. ในการเรียนและทำกิจกรรมการเรียน
9.4 การมอบประกาศนียบัตร
ผู้เข้ารับการอบรมที่เรียนจบและผ่านการประเมินผลรายวิชาจะได้รับประกาศนียบัตรหลักสูตรระยะสั้นประกอบด้วยกิจกรรมของการอบรมมีดังนี้
.....- เวลาเรียนในระบบออนไลน์ในแต่ละวิชาอย่างน้อยมากกว่าที่กำหนดไว้
.....- กิจกรรม Workshop ในแต่ละรายวิชาที่มอบหมาย (ส่งการบ้าน) Take Home
.....- ปฏิบัติและทดสอบ (Workshop) ในห้องเรียนจริง (อบรมในห้องคอมพิวเตอร์) ตามที่แจ้งประกาศ
10.หน่วยงานที่รับผิดชอบ
........โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (Thailand Cyber University) 328 ชั้น 9 อาคารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทร. 02-3545678
11. ผู้ดำเนินโครงการ
1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพรรณี สมบุญธรรม ประธาน
2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์อนุชัย ธีระเรืองงไชยศรี รองประธาน
3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐาปนีย์ ธรรมเมธา รองประธาน
4) นายนพดล โชติ วิทยากรและผู้เชี่ยวชาญ
5) นายศักดิ์สิทธิ์ คงสุขศรี วิทยากรและผู้เชี่ยวชาญ
6) นายบัณฑิต พฤตเศรณี วิทยากรและผู้เชี่ยวชาญ
7) นายชวนเชิญ บุญมาประเสริฐ วิทยากรและผู้เชี่ยวชาญ
8) นางสาวพัชรา เปลี่ยนสกุล กรรมการและเลขานุการ
9) นายถวาย สุริยะ เจ้าหน้าที่พนักงานขับรถ